การทำวิจัย



การทำวิจัย เป็นกระบวนการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปรากฏการณ์ธรรมชาติด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ หรือ วิเคราะห์ข้อมูลงานวิจัยจากการสมมุติฐานที่ได้ตั้งเอาไว้ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยที่เป็นระบบ มีการใช้เครื่องมือจากแบบสอบถามมีการควบคุมตัวแปร และมีขั้นตอนในการดำเนินการทำวิจัยที่ออกแบบโครงการวิจัยเอาไว้เป็นขั้นตอน โดยแต่ละชั้นตอนมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันนำไปสู่คำตอบปัญหาการวิจัย ผลการวิจัยที่ได้จะเป็นความรู้ใหม่เป็นผลของการพัฒนาสิ่งใหม่ๆ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อสังคม และเป็นการค้นคว้าอย่างมีระบบ โดยมีความมุ่งหมายแน่นอน เพื่อให้ได้มาซึ่งความจริงหรือหลักการบางอย่าง เป็นการเสาะแสวงหาความรู้ใหม่ วิธีแก้ปัญาหาแบบใหม่ คำตอบ โดยใช้กระบวนการที่เชื่อถือได้ การทำวิจัยเป็นกระบวนการค้นคว้า หาข้อเท็จจริงหรือค้นคว้าหาปรากฏการณ์ธรรมชาติอย่างมีระบบ มีจุดหมายที่แน่นอน เพื่อให้ได้ความรู้ที่เชื่อถือได้ (บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. 2546)

ศิริรัตน์ วีรธาตยานุกูล (2545) ได้กล่าวว่า การทำวิจัย หมายถึง กระบวนการแสวงหาความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องในสิ่งที่ต้องการจะศึกษา มีการเก็บรวบรวมข้อมูล การจัดระเบียบข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลงานวิจัย หรือ การการตีความหมายจากการวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อให้ได้มาคำตอบที่ถูกต้อง และเป็นกระบวนการที่แสวงหาความรู้ที่ดำเนินไปอย่างเป็นระบบแบบแผน และกฏเกณฑ์ในการเก็บรวบรวมข้อมูล จัดกระทำกับข้อมูล เพื่อนำไปวิเคราะห์ข้อมูล แปรผลข้อมูลที่รวบรวมมาได้ สรุปผลงานวิจัย ซึ่งจะทำให้ได้รับคำตอบของปัญหา หรือสร้างความรู้ใหม่ๆ ที่เชื่อถือได้และสามารถตรวจสอบได้ และมีนักวิชาการได้ให้ความหมายไว้ต่างๆ ดังนี้

จรัส สุวรรรเวลา (2528) ได้กล่าวว่า การทำวิจัย เป็นกระบวนการที่ใช้เหตุผลหาข้อเท็จจริง หรือกฏเกณฑ์ของธรรมชาติใช้ข้อเท็จจริงหรือกฎเกณฑ์ธรรมชาติเหล่านั้นมาใช้ในการแก้ปัญหา การทำวิจัยนั้นรวมถึงการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติเพื่อประเมินผลที่เกิดภายหลังจากการแก้ปัญหาแล้วว่าถูกต้องมากน้อยเพียงใด และเป็นวิธีการค้นหาคำตอบในสิ่งที่เราสงสัย ซึ่งเป็นคำตอบที่น่าเชื่อถือและถูกต้องแม่นยำ โดยกระบวนที่ให้ได้มาความรู้ที่เชื่อถือได้ และความรู้นั้นใช้เป็นพื้นฐานตัดสินใจที่มีประสิทธิผล ซึ่งกระบวนการต่างๆ ที่ดำเนินไปอย่างมีระเบียบกฎเกณฑ์ในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถามดำเนินงานเพื่อวิเคราะห์ข้อมูลงานวิจัยและตีความหมายสรุปผลงานวิจัย เพื่อให้ได้มาซึ่งคำตอบที่ถูกต้องต่อปัญหาหรือคำถามที่ตั้งไว้

อดิภพ จักรภาคกุล.(2546) ได้กล่าวว่า การทำวิจัย หมายถึง การค้นคว้าหาข้อเท็จจริงในปัญหาที่สงสัยภายในขอบเขตที่กำหนดไว้ โดยใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งการวิจัยเป็นเรื่องของการศึกษา ค้นคว้าเพื่อพิสูจน์ หรือหาคำตอบ หรือหาข้อเท็จจริงอะไรบางอย่าง รวมถึงการเชื่อถือได้ โดยสามารถตรวจสอบความรู้ความจริงที่ค้นพบได้

จักรกฤษณ์ สำราญใจ. (2545) ได้อธิบายว่า การวิจัย เป็นกระบวนการในการศึกษาหาความรึความจริงอย่างมีระบบ สมเหตุสมผล และมีความรอบคอบด้วยวิธีการที่เชื่อถือได้ โดยสามารถตรวจสอบความรู้ความจริงที่ค้นพบได้ การค้นหาความจริงเกี่ยวกับปรากฎการณ์ตามธรรมชาติด้วยวิธีที่มีแบบแผนซึ่งใช้หลักวิธีการทางวิทยาศาตร์ การหาความรู้ใหม่ๆ ด้วยระเบียบวิธีที่มีเหตุผล เพื่อสนองความต้องการในการตัดสินใจของผู้บริหาร นักปฏิบัติการ และนักวิชาการ โดยที่จุดมุ่งหมายที่แท้จริงเพื่อมุ่งค้นหาและสะสมความรู้อาจเป็นเชิงทฤษฎี ซึ่งการ วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ ทดสอบสมมุติฐานงานวิจัย เทคโนโลยีสารสนเทศ นวัตกรรม ที่มีผลต่อการดำเนินชีวิตของประชาชน

เอกสารอ้างอิง
จักรกฤษณ์ สำราญใจ. (2545). การวิจัยพื้นฐาน. สถาบันราชภัฎลำปาง. โรงพิมพ์จันทร์สมุทร. กรุงเทพฯ.
จรัส สุวรรณเวลา. (2530). หัวใจของการวิจัยอยู่ที่ใด. วารสารวิธีวิทยาการวิจัย ภาควิชาการวิจัยศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย . กรุงเทพฯ.
บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. (2546). การเขียนรายงานการวิจัยและวิทยานิพนธ์. จามจุรีโปรดักท์.กรุงเทพฯ.
ศิริรัตน์ วีรชาติยานุกูล. (2545). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสถิติและการวิจัย. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.กรุงเทพฯ.
อดิภพ จักรภาคกุล. (2546).วิจัยในงานวิชาการ. โรงพิมพ์โอเดี่ยนสโตร์. กรุงเทพฯ.