แรงขับเคลื่อนของการเปลี่ยนแปลงองค์การ
พื้นฐานและสถานการณ์ด้านธุรกิจอุตสาหกรรมและสภาวะตลาดทั้งในระดับประเทศและระดับโลกในอนาคต มีแนวโน้มที่จะถูกผลักดันให้มีการแข่งขันกันมากขึ้นและรุนแรงขึ้น ปัจจัยสำคัญที่เพิ่มความเข้มข้นและความรุนแรงของการแข่งขันได้แก่ การเปิดตลาดแบบเสรีมากขึ้น การพัฒนาระบบการผลิต คุณภาพการผลิต และการลดต้นทุนการผลิต การขยายขอบเขตตลาดทั้งในแนวดิ่งและแนวราบ การจัดส่วนแบ่งตลาดที่เน้นกลุ่มลูกค้าเฉพาะ การเพิ่มความต้องการของลูกค้า นวัตกรรมในด้านต่างๆ และความรวดเร็วของวงจรธุรกิจในอนาคต (โกวิทย์ กังสนันท์, 2554) ดังนั้น องค์การต่างๆไม่ว่าจะเป็นองค์การขนาดใหญ่หรือขนาดเล็กจึงเป็นต้องปรับตัวให้สอดคล้องกับสิ่งแวดล้อมการแข่งขันที่มีลักษณะซับซ้อนและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในรูปแบบดังนี้
ความล้าสมัยของรูปแบบองค์การแบบเก่า เป็นแนวความคิดพื้นฐานเกี่ยวกับองค์การเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก (โกวิทย์ กังสนันท์, 2554) แนวคิดเดิมที่มองว่าองค์การมีลักษณะเสถียรภาพและองค์ประกอบชิ้นส่วนต่างๆมีความคงที่ตายตัวในโลกของเครื่องยนต์กลไก ถูกแทนที่โดยมุมมองที่มององค์การในโลกของควอนตั้ม (quantum) ซึ่งเต็มไปด้วยความสัมพันธ์ การเคลื่อนไหว และการเปลี่ยนแปลง องค์การมีลักษณะเปิดและตระหนักถึงความสำคัญของสัมพันธ์ขององค์ประกอบต่างๆทั้งภายในและภายนอกในภาพรวม รวมทั้งการพัฒนาขีดความสามารถของการปรับตัวให้สอดคล้องกับสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ แนวความคิดเกี่ยวกับองค์การเป็นระบบปรับตัวเองลักษณะซับซ้อน (complex adaptive systems) ทาให้มององค์การเป็นเครือข่ายความสัมพันธ์ที่มีการกระทาและการตอบโต้ซึ่งกันและกัน รวมถึงมุมมององค์การจากทฤษฎีไร้ระเบียบ (chaos theory) ชี้ให้เห็นความสำคัญของปรากฏการณ์องค์การในด้านความแปรปรวน (turbulence) ความไม่แน่นอน ความเคลื่อนไหว และการเปลี่ยนแปลงที่ไม่อาจคาดคะเนได้ องค์การมีกฎระเบียบ (rules) ของตัวเองมากกว่าขึ้นอยู่กับการควบคุมอย่างเบ็ดเสร็จจากสภาพแวดล้อมภายนอก
อิทธิพลของเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งในปัจจุบัน เทคโนโลยีสารสนเทศมีอำนาจและอิทธิพลสูงในการทาธุรกิจและสามารถเปลี่ยนแปลงเกือบทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับองค์การ ไม่ว่าจะเป็นโครงสร้าง สินค้าและผลิตภัณฑ์ ตลาด และกระบวนการทางาน เทคโนโลยีสารสนเทศยังทาหน้าที่เพิ่มคุณค่าให้กับทรัพย์สินที่มองไม่เห็น (invisible assets) เช่น ความรู้ ทักษะ และการฝึกอบรม นอกจากนี้เทคโนโลยียังเป็นตัวขับเคลื่อนให้เกิดความยืดหยุ่นของการทำงาน ปรับเปลี่ยนความสัมพันธ์ในด้านต่างๆ ขององค์การไม่ว่าจะเป็นในด้านลูกค้า ผู้ป้อนสินค้า พันธมิตรทางธุรกิจ และผู้ปฏิบัติงานให้มีโอกาสเข้ามารับรู้และมีส่วนร่วมในองค์การมากขึ้น อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีสารสนเทศสร้างเงื่อนไขความจาเป็นที่สำคัญคือบุคคลากรต้องได้รับการศึกษาอบรมและมีแรงจูงใจในการทางาน
โลกาภิวัฒน์ เป็นกระแสโลกาภิวัฒน์ผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างและความสัมพันธ์ทั้งในด้านเศรษฐกิจการค้า สังคมวัฒนธรรม การพัฒนาการเทคโนโลยี บริษัทข้ามชาติ สถาบันระหว่างประเทศ และอื่นๆ ที่เชื่อมโยงกันจนเป็นโลกไร้พรมแดน โดยการสร้างเครือข่ายของความรู้วิทยาการและเทคโนโลยีสารสนเทศ โลกาภิวัฒน์จึงเป็นเงื่อนไขสำคัญที่ผลักดันให้มีการคิดเกี่ยวกับธุรกิจในกรอบนิยามใหม่ภายใต้บริบทการเปลี่ยนแปลงลักษณะพลิกผัน (discontinuous change) ในสิ่งแวดล้อม
ความคาดหวังของสังคม เป็นการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างความรับผิดชอบของการเป็นตัวแทน (constituency) ขององค์การจากผู้ถือหุ้นมาเป็นกลุ่มร่วมได้เสียประโยชน์ชี้ให้เห็นขอบเขตความสัมพันธ์ที่กว้างขึ้น องค์การธุรกิจในฐานะกึ่งสถาบันสังคม (quasi-public institution) มีความจาเป็นต้องเข้าไปเกี่ยวข้องกับมิติมนุษยธรรมและคุณธรรมจริยธรรมทางสังคมมากขึ้น จึงทาให้คากล่าวที่ว่า บริษัทที่แสวงหากาไรเพียงอย่างเดียวและสร้างภาระความเสียหายให้กับสังคมไม่สามารถที่จะอยู่รอดได้ในศตวรรษที่ 21 คุณธรรม จริยธรรมจึงเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญในการผลักดันให้องค์การมีความรับผิดชอบทางสังคม (corporate social responsibilities) ทั้งภายในและภายนอกมากขึ้น ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่ เช่น จริยธรรมธุรกิจ ความเท่าเทียม และภาวะพลเมือง (citizenship) เป็นต้น บริษัทควรเคารพกฎหมายของสังคม มีภาระและความรับผิดชอบต่อพันธะสัญญา เคารพและให้เกียรติในความเป็นมนุษย์ ประกันคุณภาพในสินค้าและบริการ รับผิดชอบต่อผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม และอื่นๆ
ความคาดหวังของลูกค้า เป็นแนวความคิดของการตอบสนองความพอใจของลูกค้าหรือ ปีของลูกค้า ไม่ได้เป็นปรากฏการณ์ใหม่ในการประกอบธุรกิจแต่อย่างใด แต่เป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นการเปลี่ยนแปลงระดับฐานรากที่เกี่ยวพันกับหลายด้าน ทั้งด้านเทคโนโลยีการผลิตที่สามารถผลิตตามความต้องการเชิงปริมาณหรือคุณภาพของลูกค้า ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทาให้บริษัทมีข้อมูลเกี่ยวกับความต้องการและพฤติกรรมของลูกค้า รวมถึงสามารถสร้างความรู้ความเข้าใจด้านส่วนแบ่งการตลาดและกลุ่มลูกค้าเฉพาะ ด้านการตลาดที่ต้องการสร้างความสัมพันธ์ทางการตลาดและความจงรักภักดีระยะยาวจากลูกค้า การเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ระหว่างบริษัทและลูกค้าในระดับฐานรากนี้จึงเกี่ยวโยงกับองค์การในองค์รวม และมีนัยสำคัญเชื่อมโยงไปถึงรูปแบบและวิธีการปฏิบัติต่อลูกค้า วิธีการจัดองค์การ วิธีการจัดการ วิธีการฝึกอบรมและพัฒนาพนักงาน การประเมินผลการปฏิบัติงาน และการกำหนดค่าตอบแทน โดยทั่วไป ความต้องการของลูกค้ามีเพิ่มมากขึ้นและข้ามระดับความต้องการแค่คุณภาพสินค้าและบริการ โดยเฉพาะความสัมพันธ์ลักษณะเรียบง่าย ทางตรง และเข้าถึงได้อย่างสะดวก ในปัจจุบัน ความรู้ความเข้าใจในรายละเอียดเกี่ยวกับลูกค้าและการแบ่งส่วนตลาดที่ถูกต้องตามความเป็นจริงจึงมีความสำคัญมากกว่าส่วนแบ่งตลาด (market share) หรือการเพิ่มผลผลิต (productivity)
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
เผยแพร่ความรู้ เพื่อให้เป็นประโยชน์แก่บุคคลทั่วไป
ไม่ใช่เพื่อการค้า อนุญาตแบบเดียวกัน